วิธีการสกัดตัวอย่างที่ให้สีรบกวนการตรวจสอบ

 

สีรบกวนการตรวจสอบ คือ ตัวอย่างที่ผ่านการสกัดและระเหยแล้ว   ยังคงมีสีเหลืออยู่ในน้ำยา Sample extract ที่จะนำไปตรวจต่อ ซึ่งตัวอย่างของการสกัดและระเหยแล้วมีสีเหลืออยู่อย่างชัดเจน เช่นSample extractของพริกแดง เป็นต้น การแก้ปัญหาดังกล่าว ให้ทำตามวิธีดังต่อไปนี้

       วิธีการระเหยตัวอย่าง (แบบปกติ)

1.       ตัวอย่างที่บดหรือสับละเอียด จำนวน 2.5 กรัม ใส่ลงในขวดสกัดตัวอย่าง เติมน้ำยาSolvent-1 จำนวน 10 ซีซี เขย่านาน 1 นาทีและตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที

2.       ดูดน้ำยาSolvent-1 ที่อยู่ในขวดสกัดตัวอย่างมา 1 ซีซีใส่ลงในหลอดแก้วทดลอง จากนั้นเติมน้ำยาSolvent-2 จำนวน 1 ซีซี ใส่ลงไปในหลอดแก้วอันเดียวกันและนำไประเหย

3.       ระเหยจนกว่าน้ำยาSolvent-1 ที่ใช้สกัดตัวอย่างหมดไป  Sample extract ที่ได้ถ้าไม่มีสีหรือมีสีเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปตรวจในขั้นตอนต่อไป แต่ถ้ามีสีหลงเหลืออยู่ชัดเจนให้ทำ Double Extract อีกครั้ง

 

วิธีการสกัดแบบDouble  extract  

1.       นำน้ำยา Sample extract ที่ได้จากการระเหยตามขั้นตอนระเหยปกติด้านบน มาเปลี่ยนถ่ายใส่หลอดแก้วทดลองหลอดใหม่   และใส่น้ำยาSolvent-1 จำนวน 1 ซีซี ลงไปในหลอดแก้วทดลองอันเดียวกันนั้น  เขย่าพอประมาณอย่าให้หกและวางทิ้งไว้ให้น้ำยาแยกชั้นกัน ประมาณ 1 นาที

2.       จากนั้นดูดน้ำยาSolvent -1(น้ำยาที่อยู่ชั้นล่างเท่านั้น) จำนวน 0.5 ซีซี (2 ส่วน) ใส่หลอดแก้วทดลองหลอดใหม่   เติมน้ำยาSolvent-2 จำนวน 0.5 ซีซี ใส่ลงไปในหลอดแก้วทดลองอันเดียวกัน  และนำไประเหยตามปกติ 

3.       น้ำยาที่เหลือจากการระเหย จะเป็นSample extract ที่จะใช้ในขั้นตอนการตรวจสอบหายาฆ่าแมลง/สารพิษตกค้างต่อไป

 

Recoveries Study  ในตัวอย่างที่ทำ Double extract   

Pesticide

Fortified level

mg./kg

% Recoveries + SD(RSD)

Carbaryl

0.4 

92.1 + 2.5 (2.7)