ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องโดยทั่วไป & การบริโภค/
คำถามที่ 1
พิษภัยของสารเคมีที่ตกค้างในพืชผัก
ส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค
|
|
คำตอบ
เนื่องจากประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรมในเขตร้อน
ที่มีศัตรูพืชชุกชุม จึงยังคงมีความจำเป็นในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผลิตผลการเกษตร
โดยเฉพาะพืชผัก แต่จากการใช้ จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ที่ถูกต้องอย่างเคร่งครัด
เพื่อมิให้มีการตกค้างของสารพิษในผักในระดับที่ไม่ปลอดภัย
ดังนั้นหากเกษตรกรขาดความรับผิดชอบ มีการใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง
จะมีผลให้มีสารพิษตกค้างในผักปริมาณสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับสารพิษจากการบริโภคผักนั้นเป็นประจำ
ซึ่งอาจก่อให้เกิดการสะสมของพิษเรื้อรัง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
สุขภาพไม่แข็งแรง โดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าเกิดกับผู้บริโภคที่เป็นผู้ป่วย
หรือเด็ก ทารก คนชรา ซึ่งกลไกการทำลายสารพิษในร่างกายมีน้อยกว่าคนแข็งแรงปกติทั่วไป
การสะสมของสารพิษจะมากกว่าจนอาจเกิดพิษที่รุนแรง
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องโดยทั่วไป" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องโดยทั่วไป & การบริโภค/
คำถามที่ 2
เกษตรกรที่ใช้สารเคมีในอัตราสูงต่อการผลิต
จะเป็นอันตรายอย่างไร
|
|
คำตอบ
โทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับจากการสัมผัส
หายใจ จะเกิดกับเกษตรกรผู้ฉีดพ่น ส่วนผู้บริโภคจะได้รับพิษจากการบริโภคผักที่มีสารพิษตกค้างในปริมาณสูง
ดังนั้นกรณีที่เกษตรกรมีการใช้สารเคมีในอัตราสูงต่อการผลิต
จะเกิดผลเสียหลายกรณี กล่าวคือ อันตรายที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อผู้ฉีดพ่น
จะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ คือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
วิงเวียนศีรษะ น้ำตาไหล ม่านตาหรี่ น้ำมูกน้ำลายไหล และเหงื่อออกมาก
สั่น ชัก หายใจขัด ในรายที่รุนแรง อาจถึงตาย เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลวและหัวใจหยุดเต้นเมื่อรับปริมาณสูง
ด้านผู้บริโภค จะเกิดพิษเรื้อรังดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้
ในด้านสิ่งแวดล้อม ผลจากการใช้สารเคมีในปริมาณสูง จะทำให้สภาพของดินเสีย
เกิดการแข็งตัว ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องโดยทั่วไป" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องโดยทั่วไป & การบริโภค/
คำถามที่ 3
ขอคำแนะนำการเลือกซื้อผักและสัตว์มาบริโภคอย่างปลอดภัย
และวิธีการล้างยาฆ่าแมลงในพืชและสัตว์แบบง่าย
|
|
คำตอบ
การเลือกซื้อพืชผักและเนื้อสัตว์
โดยมากคำนึงถึงความสดของอาหาร เช่น ผักต้องมีใบสดเขียว
เนื้อสัตว์ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหรือเป็นเมือก มีสีแดงเนื้อแน่น
ไม่เขียว คล้ำหรือดำ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถสังเกตได้ว่า
อาหารเหล่านั้นจะมีสารพิษตกค้างอยู่หรือไม่ วิธีการที่ปลอดภัยที่สุดที่ผู้บริโภคควรเอาใจใส่และควรมีส่วนร่วมในการลดปริมาณสารพิษให้ปลอดภัยต่อตนเองยิ่งขึ้น
คือ การล้างทำความสะอาดก่อนนำมาบริโภค จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารตกค้างในอาหาร
พบว่า
- การลอกใบนอกออก เช่น กะหล่ำปลี สารพิษส่วนใหญ่ติดอยู่ที่กาบนอก
เมื่อตัดส่วนนอกออก ปริมาณการตกค้างลดลงได้มาก
- การล้างน้ำ สามารถลดปริมาณสารตกค้างได้ เช่น ผักกาดเขียว
เมื่อล้างน้ำลดสารพิษได้ร้อยละ 65 ใช้ดีเทอร์เจนลดได้ร้อยละ
65 เช่นเดียวกัน
- การหุงต้มตามวิธีการที่ใช้ตามบ้านเรือน ช่วยลดสารพิษได้ร้อยละ
56 การลวกด้วยน้ำร้อน ลดลงร้อยละ 69
วิธีการที่สะดวก ง่าย คือการล้างด้วยน้ำสะอาดสัก 3 กะละมัง
ผักประเภทเป็นกาบหรือผักใบ ให้ล้างที่ละกาบที่ละใบ ในน้ำกะละมังแรก
ล้างสะอาดต่อในกะละมังที่ 2 และ หากต้องการแช่ผัก ให้แช่น้ำในกะละมังสุดท้าย
ถ้าเป็นผักผลไม้ประเภทกินดิบไม่ปอกเปลือก ให้ขัดผิวผักผลไม้เบาๆ
ประเภทปอกเปลือกบริโภค ก็ต้องล้างน้ำก่อนปอกเปลือก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนขณะปอกเปลือก
ไม่ให้สารพิษติดไปกับเนื้อผล ประเภทผักปรุงสุก ก็ควรล้างน้ำก่อน
แม้ว่าความร้อนจะทำให้สารพิษสลายตัวได้ก็ตาม แต่การล้างน้ำก่อนจะช่วยให้สารพิษหมดไปกับน้ำ
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องโดยทั่วไป" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องโดยทั่วไป & การบริโภค/
คำถามที่ 4
เมื่อทำการ reject ตัวอย่างผักที่ตรวจคัดกรองโดยวิธีGT-kit
ว่าไม่ปลอดภัย แต่ภายหลัง
มีการตรวจยืนยันโดยวิธีทางห้องปฏิบัติการแล้วว่า ตรวจไม่พบสารพิษ ท่านคิดว่าเป็นธรรมต่อ
ผู้ขายผักหรือไม่
|
|
คำตอบ
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า วิธีGT-kit
ไม่ได้ให้ผล +ve (Positive) กับสารพิษกลุ่มฟอสเฟตและคาร์บาเมท
เท่านั้น แต่ยังให้ผล + ve (Positive)กับสารพิษใดๆก็ได้ที่สารตั้งต้นมีการใช้กับพืชแล้วเกิดการสลายตัว
ด้วยเนื้อเยื่อของพืช เอง หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตามที่ทำให้เกิดสารพิษใหม่ที่ให้ผลเป็นพิษต่อเอ็นไซม์
ก็ย่อมให้ผล + ve (Positive) ซึ่งจะมีพิษมากหรือน้อย
ขึ้นกับแต่ละกรณี ขณะที่วิธีทางห้องปฏิบัติการ ไม่สามารถตรวจหาชนิดสารพิษได้ทั้งหมด
โดยเฉพาะสารพิษใหม่ที่เกิดจากการสลายตัวของสารตั้งต้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อพืช
ย่อมตรวจไม่ได้ และนอกจากนี้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยังใช้เวลานาน
ดังนั้นการ rejectตัวอย่างไว้ก่อน ถือเป็นการสมควร เพราะถือว่าภาวะนั้นอาหารไม่ปลอดภัย
ไม่ควรปล่อยให้ผักที่มีสารพิษไปถึงมือผู้บริโภค แม้ว่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการภายหลังจะไม่พบสารตกค้าง
แต่ตามความเป็นจริงคือเกิดความเป็นพิษขึ้น ซึ่งในประกาศสธ.
ฉบับที่ 163 (พ.ศ.2538)กำหนดคำจำกัดความของสารพิษตกค้างซึ่งครอบคลุมไม่เฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์เท่านั้น
แต่ยังคลุมถึง .......สิ่งปลอมปนที่มีความเป็นพิษซึ่งปนเปื้อนหรือตกค้างในอาหาร
ซึ่งเราไม่ทราบว่าเป็นสารพิษใดบ้าง แต่วิธี GT-kit
ตรวจได้ (ไม่ได้หมายความว่าตรวจได้ทุกชนิด)กรณีคำถามนี้
ขอยกตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้ว คือ ซอสปรุงรสที่เกิดสารพิษ
3-MCPD ที่หลายประเทศไม่ให้นำเข้าไปจำหน่าย ทำให้ต้องมีมาตรการศึกษาวิจัยเพื่อลดปริมาณและกำหนดค่าต่ำสุดของสารนี้
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ซอสปรุงรสขึ้นทะเบียนอาหารควบคุมและจำหน่ายได้
จากเหตุการณ์ดังกล่าวเราจึงรู้ได้ว่ายังมีสารเคมีอีกมากมายที่อยู่ภายใต้การควบคุม
ที่มีพิษและเรายังไม่รู้ ซึ่งคงจะดีกว่าหากเรามีการ screening
test ที่สามารถบอกได้ว่าส่วนผสมรวมทั้งหมดนั้นมีพิษหรือไม่
เมื่อได้ผลว่าไม่ปลอดภัย นำตัวอย่างดังกล่าวเพื่อทำ standard
testing ก็ยังไม่สายเกินไป ทั้งยังสามารถเรียนรู้ว่าสารตัวใดที่ปลอมปนกับสิ่งใดแล้วเกิดพิษ
ที่กล่าวมานั้นต้องมีความร่วมมือในการวิจัยจากหลายๆฝ่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพอาหารของคนไทยเรา
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องโดยทั่วไป" | กลับไปยังหน้าหลัก
Note: คำถามที่นำมาลงเหล่านี้เป็นคำถามที่มักจะมีการถามอยู่เป็นระยะ ดังนั้นทางเราจึงมิได้ลงชื่อและหน่วยงานเพื่อเป็นเครดิตแก่ท่านใด
|