ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 1
หลอดตัวอย่างผักที่เป็นเกษตรอินทรีย์ เช่น ต้นหอม กระเทียม
ดอกหอม เป็นต้น มีสีเข้ม
กว่าหรือเท่ากับหลอดตัดสิน ทั้งที่ผู้ปลูกแจ้งว่าไม่ได้ใช้สารเคมีกำจัดแมลง
แต่มีการใช้สารสกัดจากธรรมชาติทดแทน
|
|
คำตอบ
ตัวอย่างผักที่เป็นเกษตรอินทรีย์ โดยทั่วไปมีการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ
เช่น สะเดา ,EM เป็นต้น ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
หลอดตัวอย่างผักที่ได้จะมีสีเท่ากับ/อ่อนกว่าหลอดควบคุม แต่หากมีการใช้สารสกัดจากธรรมชาติเกินความจำเป็น
ผลการตรวจตัวอย่างเหล่านั้นด้วยชุดจีที จะพบว่าหลอดตัวอย่างมีสีเข้มกว่าหลอดควบคุมเสมอ
โดยความเข้มของสีที่แสดงปริมาณสารพิษมากหรือน้อยจะแปรตามปัจจัยหลายอย่าง
เช่น ชนิดของพืชผักที่มีองค์ประกอบของเนื้อเยื่อต่างกัน พืชผักต่างชนิดกันอาจทำลายพิษหรือเสริมฤทธิ์ให้เกิดสารพิษใหม่
หรือแม้แต่พืชผักชนิดเดียวกัน หากตกอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน
เช่น ภาวะฝนดี หรือแห้งแล้งเกิดภาวะเครียด ก็ให้ผลไม่เหมือนกันได้
ตัวอย่างเช่น ระยะหนึ่งเคยตรวจต้นหอมปลอดสารพิษได้สีเท่ากับหลอดควบคุม
ต่อมาพบว่า ต้นหอมจากแหล่งเดิมให้สีเข้มกว่าหลอดควบคุม แสดงว่าอาจมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
เช่น หน้าร้อนขาดน้ำ หรือฉีดพ่นสารสกัดธรรมชาติมาก ทำให้สีที่ตรวจได้เข้มกว่าภาวะปกติที่เคยตรวจได้
แต่ถ้าผิดปกติโดยสีที่เกิดขึ้นเข้มกว่า/เท่ากับหลอดตัดสิน ก็ย่อมไม่ปลอดภัย
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือสารพิษ(ที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง)ที่เอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสเป็นตัวตรวจสอบแทนผู้บริโภค
ในขณะที่วิธีมาตรฐานไม่สามารถบอกได้ ฉะนั้นการทำเกษตรอินทรีย์ก็ต้องคำนึงถึง
ความพอดีในการใช้งานของสารทดแทนจากธรรมชาติ
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 2
ตรวจตัวอย่างพริกที่แจ้งว่าไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลงแล้วพบว่า
ไม่ปลอดภัย(เข้มกว่า/เท่ากับหลอดตัดสิน) จะrejectตัวอย่างหรือไม่?
|
|
คำตอบ
จากการศึกษาข้อมูลการตรวจตัวอย่างพริกเมื่อใช้ตัวอย่าง
5 กรัมพบว่า พริกแต่ละชนิดแต่ละพันธุ์ มีสารที่inhibit
เอ็นไซม์แตกต่างกันไป ทั้งนี้อาจขึ้นกับความเผ็ดของตัวพริกเอง
ทำให้พบว่า บางชนิดสีที่ตรวจได้เท่ากับหลอดควบคุม แต่บางชนิดสีเข้มกว่าหลอดควบคุมตั้งแต่เล็กน้อยจนเกือบเท่าหลอดตัดสิน
ดังนั้นในการประชุมของคณะauditorโครงการรับรองระบบตรวจสอบสารพิษตกค้างในผักผลไม้
จึงตกลงกันว่า ยอมให้ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์ตัวอย่างพริกที่ใช้ตัวอย่างน้อยลง
4 เท่าคือ ใช้น้ำหนักตัวอย่าง 2.5 กรัมต่อน้ำยาสกัด-1 จำนวน
10 มล. เพื่อตัดปัญหาสารพิษในตัวอย่างที่รบกวนการตรวจ ซึ่งการลดปริมาณตัวอย่างลงแล้วพบว่าหลอดตัวอย่างมีสีเข้มกว่า/เท่ากับหลอดตัดสิน
จะอ้างว่ามาจากตัวอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ และกรณีที่ยอมให้ลดปริมาณตัวอย่างในการวิเคราะห์ลงนั้น
คณะประชุมมีความเห็นว่า ปริมาณการบริโภคพริกจะน้อยกว่าปริมาณการบริโภคผักทั่วๆไป
และในการวิเคราะห์ตัวอย่างพริกโดยวิธีมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ
ยังยอมให้มีการเจือจางตัวอย่างประมาณ 2-5 เท่า ก่อนการฉีดเข้าเครื่องแก๊สโครมาโตกราฟ
แต่อย่างไรก็ตาม การ reject ตัวอย่างหรือไม่
ขึ้นอยู่กับการทำข้อตกลงระหว่าdealer กับ
supplier ที่จะกำหนดปริมาณตัวอย่างวิเคราะห์
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 3
ผลการตรวจตัวอย่างผักว่าไม่ปลอดภัยด้วยชุดจีที
แต่เมื่อส่งตรวจโดยวิธีมาตรฐานทาง
ห้องปฏิบัติการแล้วไม่พบอะไรเลย
|
|
คำตอบ
การตรวจหาสารพิษตกค้าง โดยวิธีมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการที่ใช้เครื่อง
GC,
HPLC กับการตรวจคัดกรองโดยวิธีของชุดจีที มีความแตกต่างกัน
กล่าวคือ วิธีมาตรฐานจะใช้วิธีตรวจที่เรียกว่า วิธี Multiresidues
Method ตรวจสารเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มสารประกอบคลอรีน ฟอสเฟต
คาร์มาเมท และไพรีทรอยด์ โดยการที่จะตรวจพบว่าเป็นสารพิษชนิดใด
จะต้องมีสารมาตรฐานชนิดนั้นมาเปรียบเทียบ ถ้าหากเป็นสารพิษที่เป็นยาฆ่าแมลงชนิดที่ไม่มีสารเปรียบเทียบ
หรือเป็นสารพิษที่สารตั้งต้นเปลี่ยนรูป/สลายตัวไปเป็นสารพิษอื่น
หรือเป็นสารพิษที่เกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ยาฆ่าแมลง วิธีมาตรฐานจะตรวจไม่ได้
แต่วิธีของชุดจีที เป็นการตรวจที่ระดับความเป็นพิษของสาร
(Toxicity) ซึ่ง สารพิษที่ตกค้างในผัก ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลงหรือสารพิษที่เกิดจากสารตั้งต้นเปลี่ยนรูป/สลายตัวไปเป็นสารพิษอื่นที่ให้ผลinhibit
เอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส วิธีของชุดจีทีสามารถตรวจได้ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่
ผลการตรวจตัวอย่างผักว่าไม่ปลอดภัยด้วยชุดจีที แต่เมื่อส่งตรวจโดยวิธีมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการแล้วไม่พบอะไรเลย
สรุปสาเหตุในข้อนี้เกิดจาก :
- มีสารชนิดใดชนิดหนึ่งใน 4 กลุ่มข้างต้น หรือเป็นกลุ่มอื่นที่
analystวิเคราะห์ไม่ได้
- มีสารชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดใน 4 กลุ่มข้างต้น ที่มีปริมาณต่ำกว่าที่เครื่องมือจะตรวจได้
แม้สารเหล่านี้มีปริมาณต่ำก็จริง แต่อาจมีการเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน
หรือเสริมฤทธิ์กับเนื้อเยื่อของพืช ทำให้เกิดความเป็นพิษสูงได้
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 4
ปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ ใช้สารสะเดาสกัดฉีดพ่น
เมื่อเก็บผลผลิตขาย ผู้รับซื้อใช้ชุดจีทีตรวจ พบว่า ผลผลิตส่วนใหญ่ที่ได้ให้สีเท่ากับหรือเข้มกว่าหลอดควบคุมเล็กน้อย
ยกเว้นต้นหอมให้สีเท่ากับหลอดตัดสิน
|
|
คำตอบ
การฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น
สะเดา เป็นต้น แม้ว่าจะเป็นสารจากธรรมชาติก็ตาม ย่อมมีขอบเขตของการใช้ในปริมาณพอเหมาะพอควรเช่นกัน
การฉีดพ่นมากเกินความจำเป็น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สารสกัดจากธรรมชาติอาจทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของพืช
เกิดความเป็นพิษที่ไม่เท่ากันในพืชแต่ละชนิด ทำให้ผลผลิตที่ได้ให้สีแตกต่างกัน
ตั้งแต่สีที่เกิดขึ้นเท่ากับหลอดควบคุม(ไม่มีความเป็นพิษ)
สีเข้มกว่าหลอดควบคุมเล็กน้อย(มีพิษเล็กน้อย) กับสีเข้มเท่ากับหลอดตัดสินในตัวอย่างต้นหอม
ดังนั้น ในการฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ควรฉีดตามความจำเป็น
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 5
ใช้ชุดจีทีตรวจหาสารพิษตกค้างในอาหารพร้อมบริโภค
จะประเมินผลอย่างไร
|
|
คำตอบ
อาหารพร้อมบริโภค คืออาหารที่ผ่านกระบวนการการทำความสะอาด
ปรุงสุก/ไม่ปรุง สุกก็ได้ เช่น สลัดผัก ซึ่งแต่ละขั้นตอนสามารถทำให้สารพิษหมดไป
หากระดับการตกค้างในวัตถุดิบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ดังนั้นอาหารที่พร้อมบริโภค หากตรวจด้วยชุดจีที การประเมินผลจะต้องตรวจไม่พบสารพิษตกค้าง
คือสีในหลอดตัวอย่างจะต้องไม่เข้มกว่าหลอดควบคุม
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 6
ชุดจีทีตรวจหาสารพิษตกค้างในตัวอย่างน้ำ
/ดินได้หรือไม่ และประเมินผลอย่างไร
|
|
คำตอบ
ชุดจีทีสามารถตรวจหาสารพิษตกค้างในตัวอย่างน้ำ/ดินได้
โดยการสกัดตัวอย่างได้กล่าวไว้แล้วในเอกสารแนบในชุดทดสอบ
ส่วนการประเมินผล ถ้าเป็นน้ำ/ดินจากแหล่งปนเปื้อนหรือน้ำ/ดินร่องสวน
ถ้าตรวจพบจะบอกได้ว่า มีสารพิษตกค้างที่ระดับใด (ไม่เกี่ยวข้องกับปลอดภัย/ไม่ปลอดภัย)
เพื่อจะได้นำข้อมูลไปดำเนินการ แต่หากเป็นน้ำเพื่อจุดประสงค์ในการนำไปดื่ม
ผลที่ได้จะต้องตรวจไม่พบสารพิษตกค้าง คือสีที่ได้จะต้องไม่เข้มกว่าหลอดควบคุม
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 8
ชุดจีทีชนิด 10 เทส(test) หรือ
30 เทส(test) ทำไมตรวจไม่ได้ตามนั้น
|
|
คำตอบ
การตรวจด้วยชุดจีทีจะต้องวางแผนการตรวจ
หากเป็นชนิด 10 เทสต้องการตรวจให้ได้ 10 ตัวอย่าง จะต้องสกัดตัวอย่างเพื่อตรวจพร้อมกันทีเดียว
10 ตัวอย่าง +หลอดควบคุม+หลอดตัดสิน รวมเป็น 12 เทส ส่วนชนิด30
เทส ก็เช่นเดียวกันกับ 10 เทส
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 9
ทำไมถาดน้ำอุ่นดัดแปลงในชุดอุปกรณ์
เมื่อเปิดไฟตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมงแล้ว อุณหภูมิไม่ขึ้นถึงขีดที่กำหนดในเทอร์โมมิเตอร์
|
|
คำตอบ
ถ้าภายใน 1 ชั่วโมงแล้วอุณหภูมิของน้ำไม่ถึงขีดที่กำหนดในเทอร์โมมิเตอร์
ให้ท่านสำรวจว่า ท่านวางตำแหน่งของเตาดัดแปลงๆไว้ในที่ที่ี่เครื่องปรับอากาศเย็นเกินไป
หรืออยู่ในตำแหน่งที่พัดลมเป่าอยู่ตลอดเวลาหรือไม่
วิธีแก้คือ อย่าให้พัดลมเป่าตรงและถ้าต้องการตรวจได้เร็วขึ้นให้ใช้วิธีเติมน้ำอุ่นลงไปแทนน้ำธรรมดา
โดยเฉพาะหน้าหนาวอุณหภูมิของนำ้ที่ใส่ลงไปจะเย็นกว่าปกติ
การที่หลอดไฟจะทำให้ถาดอลูมิเนียม ร้อนจนอุณหภูมิของน้ำอุ่นขึ้นถึงขึดที่กำหนดตอ้งใช้เวลานานขึ้น
7/ ธ.ค./ 47 |
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 13
ทำไมผลการตรวจพืชผักอินทรีย์,
ผักปลอดสาร ที่ไม่ได้มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเลย
เหตุใดผลการตรวจจึงออกมาว่า
พบสารพิษตกค้างได้? และจะมีเกณฑ์การตัดสินที่เหมาะสมสำหรับพืชผักอินทรีย์เหล่านี้อย่างไร
|
|
คำตอบ
คุณต้องทำความเข้าใจใหม่ เพราะด้วยการตรวจด้วยชุดตรวจฯจีทีนั้นต้องการอุณหภูมิน้ำ้ที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิในร่างกาย
คืออุณหภูมิต้องไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส ดังนั้นอุณหภูมิที่ใช้ในการตรวจ
คือ บวก ลบ 2 จาก 35 องศาเซลเซียส
7/ ธ.ค./ 47 |
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 8
ชุดจีทีชนิด 10 เทส(test) หรือ
30 เทส(test) ทำไมตรวจไม่ได้ตามนั้น
|
|
คำตอบ
การตรวจด้วยชุดจีทีจะต้องวางแผนการตรวจ
หากเป็นชนิด 10 เทสต้องการตรวจให้ได้ 10 ตัวอย่าง จะต้องสกัดตัวอย่างเพื่อตรวจพร้อมกันทีเดียว
10 ตัวอย่าง +หลอดควบคุม+หลอดตัดสิน รวมเป็น 12 เทส
ส่วนชนิด30 เทส ก็เช่นเดียวกันกับ 10 เทส
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 9
ทำไมถาดน้ำอุ่นดัดแปลงในชุดอุปกรณ์
เมื่อเปิดไฟตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมงแล้ว อุณหภูมิไม่ขึ้นถึงขีดที่กำหนดในเทอร์โมมิเตอร์
|
|
คำตอบ
ถ้าภายใน 1 ชั่วโมงแล้วอุณหภูมิของน้ำไม่ถึงขีดที่กำหนดในเทอร์โมมิเตอร์
ให้ท่านสำรวจว่า ท่านวางตำแหน่งของเตาดัดแปลงๆไว้ในที่ที่ี่เครื่องปรับอากาศเย็นเกินไป
หรืออยู่ในตำแหน่งที่พัดลมเป่าอยู่ตลอดเวลาหรือไม่
วิธีแก้คือ อย่าให้พัดลมเป่าตรงและถ้าต้องการตรวจได้เร็วขึ้นให้ใช้วิธีเติมน้ำอุ่นลงไปแทนน้ำธรรมดา
โดยเฉพาะหน้าหนาวอุณหภูมิของนำ้ที่ใส่ลงไปจะเย็นกว่าปกติ
การที่หลอดไฟจะทำให้ถาดอลูมิเนียม ร้อนจนอุณหภูมิของน้ำอุ่นขึ้นถึงขึดที่กำหนดตอ้งใช้เวลานานขึ้น
7/ ธ.ค./ 47
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 10
ทำไมเมือเปิดไฟในกล่องไม้แล้วเป็นชั่วโมงแล้ว
อุณหภูมิของน้ำไม่เดือด
|
|
คำตอบ
คุณต้องทำความเข้าใจใหม่ เพราะด้วยการตรวจด้วยชุดตรวจฯจีทีนั้นต้องการอุณหภูมิน้ำ้ที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิในร่างกาย
คืออุณหภูมิต้องไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส ดังนั้นอุณหภูมิที่ใช้ในการตรวจ
คือ บวก ลบ 2 จาก 35 องศาเซลเซียส
7/ ธ.ค./ 47
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 11
เกษตรอินทรีย์(Organic Agriculture)
คืออะไร?
|
|
คำตอบ
เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการเกษตรที่เน้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและชีวภาพต่างๆ
ซึ่งหลักการของเกษตรอินทรีย์จะไม่ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น
ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงดิน ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช
ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ตลอดจนไม่ใช้สารฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์
ซึ่งในปัจจุบันนี้เกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมทางเลือกใหม่
เช่น ผักปลอดสาร(ผักไร้สาร) กำลังมีผู้ให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวาง
ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องมาจากความใส่ใจต่อสภาพแวดล้อมและความกลัวต่อพิษภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ซึ่งในแต่ละปีมีรายงานการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก
เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรกรรมทางเลือกใหม่ จึงเป็นอีกวิถีการเกษตรที่น่าสนใจ
มีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรต่างๆหลายหลากสูตร
ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ
โดยต้องดูว่าพืชสมุนไพรชนิดใดมีสรรพคุณในการกำจัดแมลงหรือศัตรูพืชใด
และมีการออกฤทธิ์อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ดอกดาวเรืองคั้นน้ำแล้วผสมกับน้ำ
1-3 ส่วน ฉีดพ่นกำจัดหนอนใยผักและเพลี้ยอ่อน หรือนำใบสะเดาแก่
200 กรัม ตำให้ละเอียดหมักในน้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้
2 คืน กรองเอาน้ำออก และนำไปฉีดพ่นกำจัดหนอนกระทู้ผักและหนอนใยผัก
เป็นต้น
13/ ม.ค./ 48 |
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 12
พืชผักอินทรีย์(Organic Agriculture),
ผักปลอดสาร(ผักไร้สาร) ซึ่งไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเลยนั้น
มีความจำเป็นต้องตรวจสอบสารพิษตกค้างด้วยชุดน้ำยาจีที หรือไม่
|
|
คำตอบ
ถึงแม้ว่าจะเป็นพืชผักอินทรีย์
ผักปลอดสารหรือผักไร้สารก็ตาม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการตรวจสอบสารพิษตกค้างด้วยชุดน้ำยาจีที
เนื่องจากหลักการผลิตพืชผักเหล่านี้มีการใช้สารสกัดจากสมุนไพรชนิดต่างๆในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมี
ซึ่งผลของการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรเหล่านี้ก็คือ
มีฤทธิ์ในการป้องกัน,กำจัดและฆ่าทำลายศัตรูพืชได้เช่นเดียวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ดังนั้นจึงควรตระหนักถึงพิษภัยที่อาจตกค้างมายังผู้บริโภค
ว่าสารสกัดจากสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์ในการฆ่าทำลายศัตรูพืชได้
ก็ย่อมจะมีผลเสียกระทบต่อร่างกายมนุษย์เช่นเดียวกัน
ขอยกตัวอย่างสูตรสารสกัดจากสมุนไพรบางสูตรมีการใช้สมุนไพรที่มีพิษร้ายแรงใส่ลงไป
เช่น หางไหลแดง,หางไหลขาว, เมล็ดมะกล่ำ ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ถือว่าเป็นพืชพิษ
มีพิษร้ายแรงจนถึงขั้นที่อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับวิธีการตรวจสอบหาความเป็นพิษตกค้างในผลผลิตที่มีการฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาตินั้น
นอกจากการตรวจหาความเป็นพิษด้วยชุดน้ำยาตรวจสอบสารพิษตกค้างจีที
(ซึ่งมีเอ็นไซม์ที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์เราเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเป็นพิษ)แล้ว
ก็ยังไม่มีวิธีการใดๆที่จะสามารถตรวจสอบความเป็นพิษตกค้างของสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติเหล่านี้ได้
แม้กระทั่งวิธีมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการก็ไม่สามารถตรวจสอบหาสารพิษตกค้างเหล่านี้ได้
13/ ม.ค./ 48
|
|
กลับขึ้นด้านบน | กลับไปในยังหน้า"ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ
จีที" | กลับไปยังหน้าหลัก
ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับชุดตรวจฯ"จีที"/
คำถามที่ 13
ทำไมผลการตรวจพืชผักอินทรีย์,
ผักปลอดสาร ที่ไม่ได้มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเลย
เหตุใดผลการตรวจจึงออกมาว่า
พบสารพิษตกค้างได้? และจะมีเกณฑ์การตัดสินที่เหมาะสมสำหรับพืชผักอินทรีย์เหล่านี้อย่างไร
|
|
คำตอบ
การที่ชุดน้ำยาตรวจสอบสารพิษตกค้างจีที
ตรวจสอบสารพิษตกค้างในตัวอย่างพืชผักอินทรีย์แล้วให้ผลออกมาว่า
พบสารพิษตกค้างนั้น สาเหตุเกิดจาก พืชผักเหล่านี้มีการใช้สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
และสารสกัดจากสมุนไพรเหล่านี้ก็มีความเป็นพิษตกค้างมาสู่ผู้บริโภคได้เช่นเดียวกันกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ดังนั้นผู้ผลิตและผู้ใช้สารสกัดจากสมุนไพรเองก็ควรมีแบบแผนการใช้งานที่ถูกต้อง
มีการกำหนดว่าสูตรสมุนไพรเหล่านี้ใช้กับพืชผักชนิดใดและใช้ฉีดพ่นทุกกี่วัน
และควรกำหนดระยะหยุดยาก่อนเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับชนิดพืชผักนั้นๆเช่นเดียวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เพื่อเป็นการลดปริมาณสารพิษตกค้างก่อนส่งขายให้กับผู้บริโภค
สำหรับเกณฑ์ตัดสินที่เหมาะสมกับพืชอินทรีย์และผักปลอดสารนั้น
ควรจะมีความเป็นพิษตกค้างอยู่ในตัวอย่างได้ในช่วง
0+10% Inhibition เท่านั้น ซึ่งหมายถึง เกณฑ์ของหลอดตัดสินจะอยู่ที่10 % Inhibition
ดังนั้นความเข้มสีในหลอดตัวอย่างจะต้องไม่เข้มเกินกว่าหลอดตัดสินที่มีค่า I10%
จึงจะถือว่ายอมรับได้
วิธีการทำหลอดตัดสินให้มีเกณฑ์ที่ 10% Inhibition
นั้น ในขั้นตอนการใส่น้ำยาผสมจีที-2 จะใส่น้ำยาผสมจีที-2
จำนวน 0.275 ซีซี ลงในหลอดตัดสิน(10% Inhibition)
ส่วนหลอดควบคุมและหลอดตัวอย่างอื่นๆ
จะใส่น้ำยาผสมจีที-2จำนวน 0.25 ซีซีตามปกติ วิธีการตรวจและสัดส่วนการใส่น้ำยาอืนๆจะเหมือนการตรวจปกติทุกอย่าง
13/ ม.ค./ 48
|
|
Note: คำถามที่นำมาลงเหล่านี้เป็นคำถามที่มักจะมีการถามอยู่เป็นระยะ ดังนั้นทางเราจึงมิได้ลงชื่อและหน่วยงานเพื่อเป็นเครดิตแก่ท่านใด
กลับไปยังหน้าหลัก |