Thai_flag   |   Eng_flag

 

 

 

เกี่ยวกับยาฆ่าแมลง

 

 

 
 

 

   
 

แนะนำชุดตรวจฯ"จีที"

 
  • หลักการ
 
 
 

ชุดตรวจยาฆ่าแมลง"จีที"

 
 

 

 

กลับไปยังหน้าหลัก

แนะนำชุดตรวจฯ"จีที"

 

หลักการ

intro_togt


เนื่องจากผลิตผลการเกษตรส่วนมากเป็น ผักผลไม้สด ที่จะมีการเน่าเสียเร็ว การตรวจสอบหาสารพิษตกค้างเพื่อคัดกรองตัวอย่างที่ไม่ปลอดภัยก่อนถึงมือผู้บริโภค เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการได้อย่างรวดเร็วบนพื้นฐานทางวิชาการที่ถูกต้องใกล้เคียงกับวิธีการทางห้องปฏิบัติการ หรือเป็นวิธีกึ่งมาตรฐาน

ดังนั้นในการตรวจสอบเพื่อคัดกรองตัวอย่างที่ไม่ปลอดภัยแม้ว่าจะเป็นวิธีการที่ง่าย ก็ต้องมีระบบการบริหารจัดการกับตัวอย่างที่ถูกต้องได้แก่ การสุ่มตัวอย่างจากแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย ข้อมูลปริมาณที่นำส่งวิเคราะห์ การเตรียมตัวอย่าง ตลอดจนวิธีการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ (รายละเอียดมีอยู่ในแผ่นพับของชุดตรวจฯ”จีที”) ทั้งนี้เพื่อให้ผลการตรวจสอบถูกต้องและครอบคลุมเกือบทุกรุ่นของผัก

สำหรับวิธีการตรวจวิเคราะห์อย่างง่ายและกึ่งรวดเร็วนี้ ใช้หลักการตรวจหาสารพิษด้วยวิธี Acetyl cholinesterase Inhibition Technique (รายละเอียดมีในคู่มือ*) โดยทฤษฎีที่ว่า สารพิษในกลุ่มสารประกอบฟอสเฟต และ/หรือ คาร์บาเมทมีคุณสมบัติเด่นในด้านการยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายได้ เมื่อร่างกายได้รับสารพิษในกลุ่มเหล่านี้ จะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงนำหลักการนี้มาใช้เป็นวิธีการตรวจสอบเบื้องตันเพื่อคัดกรองสารพิษใน 2 กลุ่มสารนี้ที่มีการใช้มาก แต่จากการประเมินวิธีการตรวจสอบพบว่า วิธีนี้ไม่มีความเฉพาะเจาะจง (specificity) กับเฉพาะสารใน 2 กลุ่มนี้เท่านั้น ยังสามารถเกิดผลในทางบวกกับสารพิษอื่น เช่น ความเป็นพิษในตัวของพืชสมุนไพรบางชนิด ได้แก่ เมล็ดแก่สีแดงของผลมะระขี้นก หรือสารพิษที่เกิดจากการย่อยสลายโดยวิธีการทางธรรมชาติ (Bio degradation products) หรือเกิดความเป็นพิษจากการเสริมฤทธิ์ของสารพิษปริมาณต่ำกับเนื้อเยื่อของพืช ทำให้เกิดผลดีต่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่สามารถตรวจเพื่อคัดกรองสารพิษอื่นได้อีกด้วย ดังนั้นวิธีการนี้ จึงมีความแตกต่างจากวิธีการทางห้องปฏิบัติการที่ตรวจเป็นชนิดสาร การประเมินว่าปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย จะดูจากการเปรียบเทียบค่ากำหนดของชนิดสารเคมีกับชนิดอาหาร ซึ่งหากมีการตกค้างของสารพิษมากชนิดในตัวอย่างเดียว แต่ปริมาณการตกค้างไม่เกินค่ากำหนดในทุกชนิดสารเคมี ให้ถือว่าปลอดภัย

ซึ่งลักษณะตัวอย่างดังกล่าวนี้ กำลังเป็นข้อถกเถียงว่า ผู้บริโภคจะปลอดภัยต่อการได้รับสารพิษจากอาหารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปหรือไม่ และในการประเมินค่าความปลอดภัยอาจเกิดปัญหาจากการประเมินผล เป็นต้นว่าถ้าหากว่าชนิดสารเคมีที่พบกับชนิดอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้มีค่ากำหนดไว้ให้ ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการประเมินค่าความปลอดภัยของระดับสารพิษที่พบในอาหารนั้นว่า จะมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งผู้ที่จะประเมินผลได้ ต้องใช้ผู้มีประสบการณ์ แต่ลักษณะของชุดทดสอบอย่างง่าย เป็นการตรวจผลรวมของความเป็นพิษจากสารพิษทั้งหมดที่ตกค้างในตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลงหรือเป็นสารพิษที่เกิดจากการเสริมฤทธิ์ของเนื้อเยื่อพืชกับสารบางชนิดที่ก่อให้เกิดพิษได้ไม่เท่ากันในพืชแต่ละชนิด ซึ่งมีการกำหนดเกณฑ์ระดับความไม่ปลอดภัยเป็นค่ารวมที่ระดับหนึ่ง โดยได้จากค่าความเป็นพิษของสารพิษเดี่ยวๆหรือสารพิษรวมทั้งหมดที่มีผลลดประสิทธิภาพการทำงานของเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสที่ระดับร้อยละ 50 %ของการวิเคราะห์สารปริมาณต่ำ ซึ่งผู้ตรวจจะสามารถดำเนินการประเมินผลได้เองในทุกตัวอย่างที่ทำการตรวจ ว่ามีความปลอดภัยหรือไม่


ด้านล่างคื่อ Link ซึ่งไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องภายใต้หัวข้อ
" แนะนำชุดตรวจฯ"จีที""
1 | 2 | 3

 

ผู้พัฒนาชุดตรวจฯ"จีที"

 
 
 
 

 

การติดต่อสอบถาม

 
 
 
 

คำถาม & คำตอบ

 
 
 

 

 

 

 

 

 

bottomline
 

ผู้ดูแลเว็บ | เว็บเกี่ยวข้อง
© 2004 GT trading