|
เกี่ยวกับยาฆ่าแมลง |
|
ความเป็นพิษ |
|
ปกติผู้ที่สัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยตรง ได้แก่ เกษตรกรผู้ฉีดพ่น
และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการบรรจุ ขนส่ง จะได้รับพิษโดยตรง
แต่สำหรับผู้บริโภคจะได้รับพิษทางอ้อม ซึ่งเกิดจากการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารเคมีปนเปื้อนหรือตกค้างอยู่
|
ซึ่งการได้รับสารพิษตกค้างในอาหาร
แม้อาจจะได้รับในปริมาณต่ำ แต่การที่ได้รับเป็นประจำๆ สารพิษอาจสะสมเป็นปัญหาเรื้อรัง
และส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆในร่างกาย เช่น
- ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท
ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวนมาก มีอันตรายต่อระบบสมองและประสาท โดยจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความจำเสื่อม
สมาธิสั้นต่างๆ ,
- ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งร่างกายจะมีกลไกตามธรรมชาติในการกำจัดสารพิษที่ได้รับ
โดยอวัยวะที่มีหน้าที่หลักในการกำจัดสารพิษคือ ตับ รองลงมาคือไต
หากร่างกายได้รับสารพิษเข้าไปเป็นประจำก็จะทำให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานหนัก
จนอาจเกิดปํญหาต่างๆ ตามมาได้
- ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิด รบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อต่างๆได้
- ส่งผลกระทบต่อระบบสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยส่งผลกระทบต่อต่อมไร้ท่อ(Endocrine
gland) ที่มีหน้าที่ในการผลิตหรือสร้างฮอร์โมน ทำให้ต่อมไร้ท่อเหล่านี้ทำงานผิดปกติไป
เช่นทำให้เป็นหมัน ,การผลิตอสุจิมีจำนวนน้อยลงในเพศผู้
- ส่งผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ของร่างกาย
จนอาจเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายอ่อนแอ ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย และการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ
เหล่านี้เป็นอันตรายหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้บริโภคที่มีร่างกายแข็งแรง
แต่สำหรับผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นทารกและเด็กเล็กที่ส่วนต่างๆของร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
หรือยังไม่สมบูรณ์ และผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรง จะมีความไวต่อการได้รับสัมผัสสารพิษตกค้างแม้ว่าจะได้รับในปริมาณที่ต่ำ
และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการกลายพันธุ์
จากข้อมูลของคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Environmental Working
Group) รายงานว่า การเกิดโรคมะเร็งสมองและ มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กชาวอเมริกันตั้งแต่ปี
2516 มีเพิ่มขึ้น 33% และ สาเหตุการตายเนื่องจากมะเร็งมากกว่าโรคอื่นๆ สำหรับช่วงอายุที่พบจะพบมากในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า
14 ปี และจากผลการศึกษาวิจัยระดับการตกค้างของสารพิษในอาหารของเด็กทารก 8 ชนิด
พบว่า มีสารเคมีกำจัดศัตรู พืชตกค้างสูงถึง 52 % ชนิดสารที่พบมีถึง 16 ชนิด อาหารที่พบส่วนใหญ่จะพบสารพิษมากกว่า
2 ชนิดในตัวอย่างเดียวกัน และในบรรดาสารพิษ 16 ชนิดที่ตรวจพบนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มที่มีผลกระทบต่อระบบประสาท
(Neurotoxin) ได้แก่สารพิษในกลุ่มสารประกอบฟอสเฟตและคาร์บาเมท โดยระดับของการตรวจพบเชื่อว่าปลอดภัยต่อผู้ใหญ่
แต่อาจไม่ปลอดภัยต่อเด็กและทารก ทั้งนี้เนื่องจากค่าปลอดภัยต่อการบริโภค ได้กำหนดไว้สำหรับผู้ใหญ่
ไม่ครอบคลุมการศึกษาผลกระทบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 14 ปี นอกจากนี้ผลของการได้รับสัมผัสสารพิษตั้งแต่
2 ชนิดรวมกันในตัวอย่างอาหารเดียวกัน จะยิ่งทำให้เกิดพิษสะสมหรือเกิดการเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน
ทำให้ความเป็นพิษเพิ่มสูงขึ้น
จากรายงานของนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัย แห่งหนึ่งในรัฐนิวออรีนส์ พบว่า การรวมกันของสารพิษจากสิ่งแวดล้อม
2 ชนิด ทำให้ เกิดการเสริมฤทธิ์เพิ่มขึ้น 1,000 เท่าของสารเดี่ยวๆ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสทำการศึกษาในปี
2536 ได้พยายามเปลี่ยนเพศของเต่าตัวผู้ โดยการให้ฮอร์โมน Natural estrogen ผสมกับสารพีซีบีเดี่ยวๆ
เปรียบเทียบกับการผสมด้วยพีซีบี 2 ชนิดในปริมาณต่ำ นำไปฟักโดยการปรับสภาวะที่เหมาะกับการเกิดเต่าเพศผู้
ผลพบว่าอิทธิพลของการใช้สารพีซีบี 2 ชนิดมีมากกว่าการผสมด้วยพีซีบีชนิดเดี่ยว
ปัจจุบันความสนใจในเรื่องของการประเมินข้อมูลของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดที่มีกลไกความเป็นพิษร่วมกัน
รวมทั้งการประเมินการได้รับสัมผัสรวมของสารพิษเหล่านี้ เริ่มเข้ามามีบทบาทในการประชุมของคณะกรรมาธิการอาหารระหว่างประเทศสาขาสารพิษตกค้าง
(Codex Committee on Pesticide Residues) โดยในการประชุมครั้งที่ 33 เดือนเมษายน
2544 มติจากที่ประชุมให้ประเทศสหรัฐอเมริกานำเสนอวิธีการประเมินความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีกลไกความเป็นพิษร่วมกัน
(Cumulative risk assessment) ให้ประเทศสมาชิกทำความเข้าใจและนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
แต่ขณะนี้ในสหรัฐอเมริกาตามข้อบังคับของกฎหมายใหม่ กำหนดให้องค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา
(Environmental Protection Agency = US EPA) พิจารณาผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่เกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดร่วมกัน
และ EPA ได้ประกาศใช้วิธีการประเมินนี้กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประเมินความเสี่ยงในเดือนมกราคม
2545 ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นเด็กอ่อนและทารก ที่ผลจากการวิจัยว่าพบสารพิษมากชนิด
และ พบว่าอาหารตัวอย่างเดียวกันส่วนใหญ่พบสารพิษมากกว่า 2 ชนิด ขั้นไป ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น
|
|
ด้านล่างคื่อ
Link ซึ่งไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องภายใต้หัวข้อ " เกี่ยวกับยาฆ่าแมลง"
1 | 2 |
3
|
|
|
|