ในการตรวจสารพิษตกค้างในผักมีความไว
(Sensitivity) ร้อยละ 92.3 , มีความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 85.1
, มีความถูกต้อง (accuracy) ร้อยละ 87.1 , ค่าพยากรณ์บวก (positive
predictive value) หรือค่าที่แสดงถึงโอกาสของตัวอย่างผักต่างๆที่มีผลการทดสอบเป็นบวกจะตรวจพบสารพิษตกค้างคิดเป็นร้อยละ
70.6 และ ค่าพยากรณ์ลบ (negative predictive value) หรือค่าที่แสดงถึงโอกาสของตัวอย่างผักที่มีผลการทดสอบเป็นลบ
จะตรวจไม่พบสารพิษตกค้าง ร้อยละ 96.6 สำหรับปลาเค็ม พบว่า มีความไว
(sensitivity) ร้อยละ 92.7 , มีความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 77.5
,มีความถูกต้อง (accuracy) ร้อยละ 82.3 , ค่าพยากรณ์บวก (positive predictive
value) หรือค่าที่แสดงถึงโอกาสของตัวอย่างปลาเค็มที่มีผลการทดสอบเป็นบวกจะตรวจพบสารพิษตกค้าง
และ ค่า พยากรณ์ลบ (negative predictive value) หรือค่าที่แสดงถึงโอกาสของตัวอย่างปลาเค็มที่มีผลการทดสอบเป็นลบ
จะตรวจไม่พบสารพิษตกค้างคิดเป็นร้อยละ 65.5 และร้อยละ 95.8 ตามลำดับ
ผลจากการสำรวจระดับปริมาณสารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่หน่วยราชการต่างๆนำส่งวิเคราะห์เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภค
โดยตรวจเปรียบเทียบทั้ง 2 วิธีคือ วิธีการใช้ชุดน้ำยาทดสอบสำเร็จรูปGTกับวิธีการทางห้องปฏิบัติการ
ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2539 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ได้ผลดังนี้
|
|
|
|
|
|
GT-test kit |
528 |
178(33.7%) |
134(25.4%) |
44(8.3%) |
350(66.3%) |
วิธีมาตรฐาน |
145(27.5%) |
130(24.6%) |
16(3.0%) |
383(72.5%) |
ในจำนวนตัวอย่างที่พบว่าไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จะพบว่า วิธีการของชุดทดสอบGTจะคัดกรองตัวอย่างได้มากกว่า
กล่าวคือ สามารถระบุได้ว่า มีตัวอย่างที่ไม่ปลอดภัยถึง 44 ตัวอย่าง
ขณะที่วิธีการทางห้องปฏิบัติการ พบว่าไม่ปลอดภัยเพียง 16 ตัวอย่าง และเมื่อศึกษาต่อไปพบว่า
ในจำนวนตัวอย่างที่ไม่ปลอดภัย 44 ตัวอย่าง สามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้
- ให้ผลที่พบว่าไม่ปลอดภัยตรงกัน 16 ตัวอย่างคือ (วิธีมาตรฐานพบสารพิษตกค้างในปริมาณสูง)
- GT-test kit พบว่าไม่ปลอดภัย แต่วิธีมาตรฐานปลอดภัย(ส่วนใหญ่พบสารพิษหลายชนิดในตัวอย่างเดียวกัน)
/ไม่มีค่ากำหนด 16 ตัวอย่าง
- GT-test kit พบว่าไม่ปลอดภัย แต่วิธีมาตรฐานตรวจไม่พบ 12 ตัวอย่าง
|