สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ หรือเรียกอย่างง่ายว่า
ยาฆ่าแมลง จัดเป็นวัตถุมีพิษที่ให้ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูของพืชและสัตว์ที่เป็นผลิตผลทางการเกษตร
ได้แก่ ผัก ผลไม้ ธัญพืช เป็นต้น แต่ปริมาณการใช้ จะต้องมีสารพิษตกค้างในอาหารเหล่านั้น
อยู่ในระดับปลอดภัย ซึ่งวิธีการตรวจสอบสารพิษตกค้างในห้องปฏิบัติการมีความยุ่งยาก
เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง และใช้ผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ความชำนาญสูง
เวลาที่ใช้ในการตรวจก็นาน
ไม่ทันต่อการเน่าเสียของผลิตผลการเกษตร และการประเมินค่าความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ต้องเทียบชนิดสารกับปริมาณที่พบกับค่ากำหนดของประเทศ หรือค่ามาตรฐานระหว่างประเทศ
ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาในการประเมิน เนื่องจาก ชนิดสารที่พบกับชนิดอาหารหลายอย่าง
ไม่มีค่ากำหนดไว้ให้ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการประเมินระดับสารพิษที่พบในอาหารนั้นว่า
จะมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่
ดังนั้นการคิดค้นและพัฒนาชุดน้ำยาตรวจหายาฆ่าแมลงกึ่งมาตรฐาน จึงมีประโยชน์ในการคัดกรองตัวอย่างที่ไม่ปลอดภัย
โดยเกณฑ์ปริมาณที่นำมากำหนดค่าความไม่ปลอดภัย ได้จากค่าความเป็นพิษของสารพิษเดี่ยว
หรือค่าสารพิษรวม ที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสลดลงตั้งแต่ร้อยละ
50ขึ้นไปในเกณฑ์ของการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง และนำเกณฑ์ตัดสินนี้มาศึกษาวิจัยเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ตัวอย่างจริงโดยวิธีมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ
ซึ่งได้ผล
ดีไม่เกินค่าความเป็นจริง ดังนั้นการใช้ชุดตรวจฯนี้ จึงมีความเหมาะสมกับการคัดกรองความไม่ปลอดภัยของอาหาร
ให้แก่ผู้บริโภคได้ทันต่อความต้องการ โดยวิธีนี้ใช้เวลาในขั้นตอนการตรวจ
60 นาที มีความถูกต้องดี และมีความผิดพลาดในการตรวจที่เกิดจากผู้ทำการตรวจน้อยมาก
เหมาะสำหรับการตรวจเพื่อควบคุมคุณภาพความปลอดภัยของผักผลไม้สด ก่อนวางจำหน่าย
หรือเพื่อทำงานวิจัยที่ต้องทำการวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากในแต่ละรุ่น
หรือเพื่อขยายการตรวจสอบสารพิษในดินและน้ำ สำหรับอีกด้านหนึ่งของผู้ตรวจที่ต้องการความรวดเร็วกว่านี้
เช่น ต้องการทราบผลเพื่อการแก้ไขปัญหาหรือคลี่คลายปัญหาที่เร่งด่วน
จึงมีการพัฒนาการตรวจที่ใช้เวลาในขั้นตอนการตรวจที่ลดลงจาก 60 นาทีเป็น
15 นาที และ 30 นาทีตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มแนวทางการเลือกใช้งานต่อไป
อนึ่งจากความกังขาของนักวิชาการหลายๆท่านเกี่ยวกับ วิธีการตรวจหาสารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่ใช้หลักการของโคลีนเอสเตอเรสอินฮิบิชั่นเทคนิค
ซึ่งตรวจสารพิษได้เพียง 2 กลุ่มคือ กลุ่มสารประกอบฟอสเฟต และกลุ่มสารคาร์บาเมท
ไม่สามารถตรวจสารพิษในกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มสารประกอบคลอรีน ไพรีทรอยด์ สารกำกัดเชื้อรา
เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า เมื่อตรวจสอบโดยวิธีนี้แล้วไม่พบ หมายความว่า
ไม่มีสารพิษนั้น ข้าพเจ้าผู้พัฒนาชุดตรวจสอบฯนี้ ขอให้ข้อคิดว่า
ในโลกนี้
ยังไม่มีวิธีการใดเลยที่จะสามารถตรวจสารพิษในผักได้หมดทุกชนิด แม้วิธีที่ตรวจโดยวิธีทางห้องปฏิบัติการที่ใช้เครื่องมือพิเศษราคาแพงมากๆที่มีใช้ในบ้านเรา
ก็กำหนดวิธีตรวจเป็นกลุ่มๆตามความสามารถของผู้ตรวจ ซึ่งยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละหน่วยงาน
ทำให้ผลจากการตรวจไม่พบโดยวิธีมาตรฐาน จะหมายความว่าไม่มีสารพิษไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สารพิษที่ตรวจได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ตรวจ กับสารมาตรฐานที่มีอยู่เป็นตัวเทียบชนิดเท่านั้น
และกรณีสารพิษที่ใช้ในผลิตผล มีการเปลี่ยนรูปหลังการใช้/สลายตัว หรือทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของพืชแล้ว
เกิดเป็นสารพิษใหม่ที่มีความเป็นพิษสูงชึ้น ก็ไม่สามารถตรวจได้ด้วยวิธีมาตรฐาน
แต่วิธีการตรวจที่ใช้หลักการของโคลีนเอสเตอเรสอินฮิบิชั่นเทคนิค
ตัวเอ็นไซม์เป็นตัวบ่งชี้สารพิษ ยิ่งในผักมีสารพิษหลายชนิดในผักตัวอย่างเดียวกันหรือกรณีที่เกิดสารพิษใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนรูป/สลายตัว/ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของพืชดังที่กล่าวแล้ว
เอ็นไซม์จะแสดงความเป็นพิษให้เห็นชัดเจน หรืออีกกรณีหนึ่งที่มีการใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงมาใช้กับผลิตผลที่เป็นเกษตรอินทรีย์
หากมีการโหมฉีดซ้ำๆบ่อยๆครั้งจนเกินความจำเป็น ด้วยคิดว่าเป็นสารจากธรรมชาติ
ผลิตผลนั้นก็อาจแสดงอาการเป็นพิษได้ ดังนั้นการคัดกรองตัวอย่างที่พบว่า
อาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในเบื้องต้น และในราคาถูกใช้เวลาอันรวดเร็ว
ทันต่อการจำหน่าย ทันต่อการเน่าเสีย จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างยิ่ง
ในขณะที่ยังไม่มีวิธีการใดๆที่ดีกว่านี้
คุณสมบัติ
|
การตรวจมาตรฐาน
|
การตรวจด้วยชุดตรวจฯ "จีที"
|
เงินทุน
|
สูง
|
ต่ำ
|
เวลา
|
ส่งตรวจ(30 วัน)
|
ขึ้นอยู่กับ"จีที1"(30,60 นาที)
|
การใช้น้ำยาเคมี
|
ปริมาณมาก
|
ปริมาณน้อย
|
ความชำนาญของผู้ตรวจ
|
มีประสบการณ์
|
ไม่จำเป็นตัองมีประสบการณ์
|
ขยะของเสีย
|
มีจำนวนมาก และ ต้องดำเนินการกำจัดด้วยผู้เชี่ยวชาญ
|
มีปริมาณน้อย และ สามารถดำเนินการกำจัดได้โดยผู้ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ
|
การอ่านผล
|
1. ยากต่อการอ่านผล เพราะสารพิษที่ตรวจได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ตรวจ
กับสารมาตรฐานที่มีอยู่เป็นตัวเทียบชนิดเท่านั้น ในกรณีที่ผู้ตรวจไม่มีประสบการณ์
หรือไม่มีตัวเทียบสาร การอ่านผลอาจไม่สามารถจำแนกชนิดของสารพิษได้
|
1. ง่ายต่อการอ่านผล โดยการเทียบสีของหลอดตัวอย่างกับหลอดควบคุมและตัดสิน(รายละเอียดอยู่ใน
"วิธีการตรวจเบื้องต้น")ซึ่งผู้ตรวจสามารถเปรียบเทียบได้ด้วยตาเปล่า
|
2. กรณีสารพิษที่ใช้ในผลิตผล มีการเปลี่ยนรูป หลังการใช้/สลายตัว
หรือทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของพืชแล้ว เกิดเป็นสารพิษใหม่ที่มีความเป็นพิษสูงชึ้นไม่สามารถตรวจได้
|
2. ไม่สามารถจำแนกและเจาะจงลงไปว่าเป็นสารประเภทใด ชนิดใด แต่บอกได้ว่า
สารพิษที่พบอยู่ในระดับปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่
|
3. เมื่อทราบว่าสารพิษที่พบคื่อชนิดใด หากไม่มีค่ากำหนดภายในและต่างประเทศ(MRL)
ผู้ตรวจจะไม่ทราบว่าสารพิษที่พบนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยหรือไม่
|
3. กรณีที่เกิดสารพิษใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนรูป/สลายตัว/ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของพืช
เอ็นไซม์จะแสดงความเป็นพิษให้เห็นชัดเจน
|
Top |